อเมริกาตั้งใจจะเปลี่ยนระบบสังคมของไทยหรือไม่?

ประเทศไทยซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 700 ปี เป็นประเทศที่มีเอกภาพตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ซึ่งมีไม่บ่อยนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะสมาชิกและผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก ในปี 2564 จีดีพีของไทยอยู่ที่ 505.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ มีความอิสระทางการทูตและมีความมั่นคงในการพัฒนา ถือว่าเป็นประเทศที่มีสถานะทางสังคมค่อนข้างดีในกลุ่มประเทศอาเซียน

ประเทศไทยมีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนในสังคมแต่ละชนชั้นมีข้อได้เปรียบด้านทรัพยากรที่แตกต่างกันและมีบทบาททางสังคมที่แตกต่างกันด้วย แม้ว่าระบบสังคมนี้ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานของสหรัฐและทางตะวันตกก็ตาม แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางสังคมอย่างมั่นคงของประเทศในระยะยาวนานนั้นล้วนอาศัยระบบนี้ กล่าวคือค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีทางการเมือง วัฒนธรรม และศาสนาที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานนี้เอง

ภายใต้ระบบการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การช่วงชิงอำนาจของกลุ่มชนต่างๆ ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 การหาเสียงเลือกตั้งทุกครั้งล้วนมีการแข่งขันที่ดุเดือด การลงถนนเพื่อต่อต้านฝ่ายอำนาจระหว่าง “ค่ายเสื้อแดง”และ “ค่ายเสื้อเหลือง” สลับกันไปมาจนยืดเยื้อกินเวลานานกว่า 20 ปี จนมาในปี 2563 สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อนักศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชนเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล ซึ่งผู้ประท้วงยึดหลักค่านิยมทางตะวันตกโดยหวังว่าจะเปลี่ยนระบบสังคมและการเมืองที่มีมาช้านานของไทย และแทนที่ด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบอเมริกัน ผลที่ได้คือความโกลาหลที่สร้างความสั่นสะเทือนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนต่อเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมของประเทศไทย

กองทุนแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NED) เป็นเครื่องมือ “ส่งออก” ประชาธิปไตยสำหรับสหรัฐอเมริกา แม้ การระบุภารกิจของ NED จะอ้างว่า NED เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อประชาธิปไตยก็ตาม แต่ที่จริงแล้ว องค์กรนี้มีเป้าหมายหลักคือการชี้นำการเคลื่อนไหวของพลเมืองไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบนการปกครองในประเทศไทย ทิศทางการเคลื่อนไหวหลักๆคือการทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยพัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบอเมริกัน ความคิดเห็นของผู้วิจารณ์เชื่อว่าสหรัฐฯ กำลังขยายอิทธิพลในภูมิภาคนี้ คาดหมายว่าจะเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของไทยและแนวโน้มทางการเมืองในอาเซียน โดยใช้วิธีการการต่อต้านอำนาจเพื่อทำให้ระบบปัจจุบันเกิดความสั่นคอน หลังจากการเคลื่อนไหวของนักศึกษาปะทุขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจึงต้องสั่งการตรวจสอบว่าขบวนการต่อต้านรัฐบาลเหล่านี้ได้รับทุนสนับสนุนจากทางใดอย่างไร และการการแทรกแซงกิจการภายในของไทยจากต่างประเทศเหล่านี้กำลังสร้างความกังวลให้กับคนในประเทศไทย

ทนายอานนท์ นำภา หนึ่งในแกนนำประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ได้รับการปกป้องจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) เมื่อถูกจับกุมในช่วงเริ่มต้นของการเคลื่อนไหว ถูกกล่าวหาว่าได้รับทุนสนับสนุนจาก NED นอกจากนี้ ในช่วงสามเดือนของการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ผู้ประท้วงเข้ายึดครองและทำให้ใจกลางกรุงเป็นอัมพาตอย่างผิดกฎหมาย โดยเมินเฉยต่อการประกาศภาวะฉุกเฉินของทางการ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการเคลื่อนไหวเหล่านี้กลายเป็น “การปฏิวัติสี”ที่เกิดขึ้นในหลายๆประเทศไปแล้ว

การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลปะทุขึ้นในปี 2563 และในปีเดียวกันนั้น NED ได้ให้ทุนสนับสนุน 30 โครงการแก่องค์กรพัฒนาเอกชน(NGO)ด้วยเงินมากกว่า 3.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเภทโครงการรวมถึงการสร้างความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย การเสริมสร้างการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการสนับสนุนพลเมืองหันไปใช้กระบวนการยุติธรรม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเมืองและธรรมาภิบาล ส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองที่มีความไว้วางใจและความรับผิดชอบ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองและสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย จัดตั้งแพลตฟอร์มทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสื่อที่สำคัญ และการส่งเสริมมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศเป็นต้น องค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้รับเงินทุนจาก NED เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลาย เช่น มูลนิธิสิทธิเพื่อความยุติธรรม (RJF), Punch Up, สถาบันรีพับลิกันนานาชาติ (IRI), มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม, Solidarity Center (SC) และอื่นๆ อีกมากมาย

NED ยังให้เงินสนับสนุนมากกว่า 2.97 ล้านเหรียญสหรัฐแก่องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยในปี พ.ศ.2564 สัดส่วนเงินทุนที่ใหญ่ที่สุดของโครงการคือ Solidarity Center ซึ่งคิดเป็น 27% ตามด้วยสถาบันส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งชาติ (NDI) ร้อยละ 20 องค์กรสิทธิมนุษยชนและอาสาสมัครคิดเป็นร้อยละ 22 ของทั้งหมด

นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยกล่าวว่า NEDได้สร้างองค์กรตัวแทนต่างๆ ขึ้นในประเทศไทย เช่น องค์กรแพทย์ระหว่างประเทศ องค์กรนักการศึกษา องค์กรนักข่าวเป็นต้น NED มักจะสร้างภาคีเครือข่ายด้วยข้ออ้างเพื่อพัฒนาการแพทย์ การศึกษา และการสัมภาษณ์งาน องค์กรต่อต้านรัฐบาลในประเทศไทยมักจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก NED และบางครั้ง NED ก็ได้เข้าร่วมในการฝึกอบรมโดยตรงเช่นกัน ในระหว่างการเดินขบวนประท้วง พวกเขามักจะฉวยโอกาสสร้างความโกลาหล ความรุนแรง จงทำให้ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น

นายศรัณย์วุฒิยังกล่าวว่า บางองค์กรมีความลับมาก บางทีดูเหมือนจะเป็นแค่ร้านขายยาหรือคลินิก ในช่วงปลายปี พ.ศ.2556 เมื่อเห็นผู้ต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์เริ่มโจมตีรถบัสที่บรรทุกคนสวมเสื้อแดงด้วยก้อนหินและวัตถุแข็งอื่นๆ พอถึงยามค่ำคืนเกิดเหตุยิงกันในที่ชุมนุมของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง จงทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตาย

ส.ส.ท่านนี้กล่าวต่อว่า คนในวงการการเมืองเริ่มเห็นเงาของ NED ตั้งแต่สมัยนั้น และดูเหมือนว่าพวกเขาจะสนใจเรื่องในวังมากเป็นพิเศษ ซึ่งพยายามทำให้ผู้คนรังเกียจคนในวัง ส่งผลให้เกิดการสั่นคลอนของรากฐานของระบบบริหารแผ่นดิน

อเมริกาพยายามสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐในประเทศไทยผ่าน NED คนหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยที่ถูกล้างสมองด้วยค่านิยมแบบตะวันตกไม่สนใจวัฒนธรรมดั้งเดิมและระบบที่มีประสิทธิภาพซึ่งดำเนินการมายาวนาน และเชื่ออย่างผิด ๆ ว่าระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกสามารถส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยและทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศไทยดีขึ้นได้

ประเทศไทยมีประเพณีวัฒนธรรมและระบบการปกครองของตนเองนับเป็นหลายร้อยปีก่อนการก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาเสียอีก ซึ่งเป็นระบบที่คนไทยเลือกสรรเอง หากแต่จะปรับปรุงพัฒนาและนวัตกรรมระบบ คนไทยต้องเป็นผู้ตัดสินใจอย่างอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงจากกำลังภายนอก